ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพพชุมชน เขต 8 อ.ด่านซ้าย จ.เลย(ฉบับจริง )

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพพชุมชน เขต 8 อ.ด่านซ้าย จ.เลย(ฉบับจริง ) ”

อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

หัวหน้าโครงการ
นส.วนิดา วินะกุล

ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพพชุมชน เขต 8 อ.ด่านซ้าย จ.เลย(ฉบับจริง )

ที่อยู่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย จังหวัด เลย

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2019 ถึง 1 กรกฎาคม 2020


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพพชุมชน เขต 8 อ.ด่านซ้าย จ.เลย(ฉบับจริง ) จังหวัดเลย" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพพชุมชน เขต 8 อ.ด่านซ้าย จ.เลย(ฉบับจริง )



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เขตสุขภาพที่ 8 โดยประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact assessment: HIA) (2) พัฒนาแนวทางการบูรณาการการทำงานระหว่างคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) และกองทุนสุขภาพตำบล/เทศบาล ผลการประเมิน พบว่า 1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จโครงการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อำเภอในการกำหนดสุขภาพ ประกอบด้วย (1) ด้านปัจเจกบุคคล มีการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)และระดับตำบล(พชต.) จำนวน 12 คณะ (2) ด้านสภาพแวดล้อม มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ได้แก่ ประเพณีการละเล่นผีตาโขน เกษตรปลอดสารพิษ (3) ด้านระบบกลไก มีกลไกนับสนุน การจัดกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย จำนวน 3 ประการ คือ ที่นี่ด่านซ้ายจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม กินอยู่อย่างคนด่านซ้าย และคนด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกัน 2. ผลผลิตที่เกิดจากโครงการ ได้แก่ กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา จำนวน 12 ประเด็น มีโครงการด้านสุขภาพ จำนวน 36 โครงการ กองทุนมีระบบการติดตามออนไลน์ จำนวน 11 กองทุน 3. ผลลัพธ์ จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่ พชอ.ได้แผนบูรณาการตามประเด็นปัญหาจากกองทุนสุขภาพตำบล โครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน และ พชอ.มีฐานข้อมูลทั้งระดับอำเภอและตำบล 4. ผลกระทบ การดำเนินงานโครงการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในรอบปีที่ผ่านมามีการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแบบบูรณาการและเหมาะสม โดยนำเอานโยบาย มาตรการทางสังคม ระบบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานมีความรับผิดชอบต่อตนเองและองค์กร กลุ่มชุมชนมากยิ่งขึ้น มีการขยายผลจากตำบล หรือหมู่บ้านต้นแบบด้านสุขภาพไปสู่กิจกรรมที่เป็นองค์ความรู้และนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น คือ ปัจจุบัน ได้แก่ 1) การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม มีการจัดการขยะอย่างถูกต้องในระดับครัวเรือน ลดการใช้โฟมในการบรรจุอาหาร มีหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะเป็นหมู่บ้านสะอาด 2) ด่านซ้ายกรีนเนท(Green Net) เกิดผู้คนอาสาสมัคร มีกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดภัยในทุกตำบล การสร้างตลาดแก่กลุ่มเกษตรกร การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชนในระดับอำเภอ และมีแหล่งตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3) ด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกัน และอนาคต ขยายไปครอบคลุมมากขึ้น ได้แก่ (1) การสร้างนักบริบาลชุมชน มีนักบริบาลทุกตำบลดูแลผู้พิการ ผู้สูงวัยใส่ใจคุณภาพชีวิต จำนวน 29 รายในทุกตำบลโดยใช้งบประมาณในระดับพื้นที่ของอบต./เทศบาล (2) การจัดโรงเรียนสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 4 ตำบลในทั้งหมด 10 ตำบล ถือเป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) ที่นำไปสู่ภาวะผู้นำสุขภาพมีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) และ 5. แนวทางการบูรณาการการทำงานระหว่าง พชอ.และกองทุนสุขภาพตำบล/เทศบาล มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผน (2)การปฏิบัติ (3)การตรวจสอบ (4)การปรับปรุง และ(5)การกำหนดมาตรฐาน

คำสำคัญ : การติดตามประเมินผล, การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ, การบูรณาการ, งานสร้างเสริมสุขภาวะ, กลไกสุขภาวะ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    ปฐมวัย (0-5 ปี)
    วัยเรียน (6-12 ปี) 100
    วัยรุ่น (13-15 ปี) 100
    เยาวชน (15-20 ปี)
    วัยทำงาน
    ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    ผู้พิการ
    ผู้หญิง
    มุสลิม
    พระภิกษุ
    ชาติพันธุ์
    ผู้ต้องขัง
    หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ)
    กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ)
    แรงงานข้ามชาติ
    อื่น ๆ

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    ปฐมวัย (0-5 ปี) 0
    วัยเรียน (6-12 ปี) 100
    วัยรุ่น (13-15 ปี) 100
    เยาวชน (15-20 ปี) -
    วัยทำงาน -
    ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    ผู้พิการ -
    ผู้หญิง -
    มุสลิม -
    พระภิกษุ -
    ชาติพันธุ์ -
    ผู้ต้องขัง -
    หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
    กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
    แรงงานข้ามชาติ -
    อื่น ๆ -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เขตสุขภาพที่ 8 โดยประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (Health Impact assessment: HIA) (2) พัฒนาแนวทางการบูรณาการการทำงานระหว่างคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.) และกองทุนสุขภาพตำบล/เทศบาล ผลการประเมิน พบว่า 1. ปัจจัยแห่งความสำเร็จโครงการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อำเภอในการกำหนดสุขภาพ ประกอบด้วย (1) ด้านปัจเจกบุคคล มีการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)และระดับตำบล(พชต.) จำนวน 12 คณะ (2) ด้านสภาพแวดล้อม มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ได้แก่ ประเพณีการละเล่นผีตาโขน เกษตรปลอดสารพิษ (3) ด้านระบบกลไก มีกลไกนับสนุน การจัดกระบวนการเรียนรู้ และกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย จำนวน 3 ประการ คือ ที่นี่ด่านซ้ายจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม กินอยู่อย่างคนด่านซ้าย และคนด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกัน 2. ผลผลิตที่เกิดจากโครงการ ได้แก่ กองทุนสุขภาพตำบลมีแผนตามประเด็นปัญหา จำนวน 12 ประเด็น มีโครงการด้านสุขภาพ จำนวน 36 โครงการ กองทุนมีระบบการติดตามออนไลน์ จำนวน 11 กองทุน 3. ผลลัพธ์ จำนวน 3 ประเด็น ได้แก่ พชอ.ได้แผนบูรณาการตามประเด็นปัญหาจากกองทุนสุขภาพตำบล โครงการระดับอำเภอมีการบูรณาการร่วมกัน และ พชอ.มีฐานข้อมูลทั้งระดับอำเภอและตำบล 4. ผลกระทบ การดำเนินงานโครงการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในรอบปีที่ผ่านมามีการบริหารจัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีแบบบูรณาการและเหมาะสม โดยนำเอานโยบาย มาตรการทางสังคม ระบบทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติงานมีความรับผิดชอบต่อตนเองและองค์กร กลุ่มชุมชนมากยิ่งขึ้น มีการขยายผลจากตำบล หรือหมู่บ้านต้นแบบด้านสุขภาพไปสู่กิจกรรมที่เป็นองค์ความรู้และนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น คือ ปัจจุบัน ได้แก่ 1) การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม มีการจัดการขยะอย่างถูกต้องในระดับครัวเรือน ลดการใช้โฟมในการบรรจุอาหาร มีหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะเป็นหมู่บ้านสะอาด 2) ด่านซ้ายกรีนเนท(Green Net) เกิดผู้คนอาสาสมัคร มีกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดภัยในทุกตำบล การสร้างตลาดแก่กลุ่มเกษตรกร การคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของประชาชนในระดับอำเภอ และมีแหล่งตรวจผลิตภัณฑ์สุขภาพ 3) ด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกัน และอนาคต ขยายไปครอบคลุมมากขึ้น ได้แก่ (1) การสร้างนักบริบาลชุมชน มีนักบริบาลทุกตำบลดูแลผู้พิการ ผู้สูงวัยใส่ใจคุณภาพชีวิต จำนวน 29 รายในทุกตำบลโดยใช้งบประมาณในระดับพื้นที่ของอบต./เทศบาล (2) การจัดโรงเรียนสุขภาพผู้สูงอายุ จำนวน 4 ตำบลในทั้งหมด 10 ตำบล ถือเป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) ที่นำไปสู่ภาวะผู้นำสุขภาพมีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) และ 5. แนวทางการบูรณาการการทำงานระหว่าง พชอ.และกองทุนสุขภาพตำบล/เทศบาล มี 5 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผน (2)การปฏิบัติ (3)การตรวจสอบ (4)การปรับปรุง และ(5)การกำหนดมาตรฐาน

    คำสำคัญ : การติดตามประเมินผล, การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ, การบูรณาการ, งานสร้างเสริมสุขภาวะ, กลไกสุขภาวะ, การพัฒนาคุณภาพชีวิต

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

    อภิปรายผล 1) การพัฒนาศักยภาพของบุคคล พบว่า มีการพัฒนาศักยภาพบุคคล ในกลุ่มของ ทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายในโครงการฯ อันประกอบไปด้วย ผู้รับผิดชอบงานกองทุนฯ,จนท.รพ.สต.,คณะกรรมการกองทุนสุขภาพและกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยประเด็นหลักที่มีการพัฒนาศักยภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ การพัฒนาแผนงาน/โครงการกองทุนสุขภาพ ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือ/โปรแกรมบันทึกข้อมูลออนไลน์ ซึ่งส่งผลให้มีทักษะและเล็งเห็นความสำคัญในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา ในพื้นที่ และสามารถนำมาหาแนวทาง/วิธีการในการสร้างเสริมสุขภาพ ผ่านกองทุนสุขภาพตำบลได้มากขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ผู้นำท้องถิ่นที่เป็นผู้ปฏิบัติการโครงการมีบทบาทหน้าที่เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนเสนอโครงการต่าง ๆ ในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากรบุคคลในโครงการต่าง ๆเป็นแกนนำเครือข่ายในกิจกรรมต่าง ๆ และในส่วนของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่อำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย มุ่งให้มีการหลอมรวมการทำงานแบบมีส่วนร่วม (ประยูร อรัญรุท. 2561 : 122-125) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาศักยภาพยังไม่ครอบคลุมถึง บุคคลหรือกลุ่มต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลทุกคน กลุ่มผู้รับผิดชอบงาน/ผู้รับทุน กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เนื่องจากทีมพี่เลี้ยงระดับเขต ทีมพี่เลี้ยงระดับพื้นที่ เล็งเห็นว่าโปรแกรมออนไลน์นี้มีการใช้ที่ค่อนข้างยากและซับซ้อน จึงควรเริ่มจากกลุ่มคนที่จะสามารถฝึกและใช้ได้ก่อน โดยคาดหวังว่าเมื่อกลุ่มนี้ใช้ได้อย่างชำนาญแล้ว จะเกิดการขยายผลไปสู่คนและกลุ่มต่าง ๆในชุมชนได้มากขึ้น 2) การปรับปรุงเชิงระบบ หรือกลไกในการทำงาน พบว่า เกิดระบบที่เข้ามาช่วยหนุนเสริมในการจัดทำแผนงาน/โครงการ ได้มากขึ้น ดังที่กล่าวในจุดเด่นของโปรแกรมออนไลน์ คือ ทำให้เกิดการวิเคราะห์สถานการณปัญหา ในพื้นที่ มีแนวทาง/วิธีการสร้างเสริมสุขภาพที่ชัดเจน ที่สามารถนำมาปรับใช้ได้ มีโปรแกรมที่เชื่อมโยงประเด็นต่างๆอย่างเป็นระบบมากขึ้น/เช่นข้อมูล เป้าหมาย แนวทาง เป็นต้น มีการจัดเก็บฐานข้อมูลเดิม เพื่อต่อยอดข้อมูลใหม่ได้ เช่น ข้อมูลพัฒนาการเด็ก สามารถเรียนรู้จากพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ รวมถึงเป็น นอกจากนี้ทำให้คนเล็งเห็นถึงขนาดของสถานการณ์ปัญหาว่ามีความสำคัญมากอย่างไร และสามารถติดตามงานผ่านระบบออนไลน์ได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ นายอำเภอด่านซ้าย ให้ความสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการทำงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการบูรณาการการทำงานร่วมกันทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) ในการยกระดับในการทำงานแบบร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมทำงานเพื่อท้องถิ่นของตนเองอย่างเต็มที่ ทั้งเรื่องของผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส เรื่องของเด็กและเยาวชน รวมทั้งของการลดจำนวนผู้ดื่มสุราในพื้นที่ (ประยูร อรัญรุท. 2561 : 127) อย่างไรก็ตาม พบว่า โปรแกรมออนไลน์นี้ มีความซ้ำซ้อนกับโปรแกรมรายงานผลดำเนินงานของสปสช. และส่วนใหญ่สะท้อนว่าค่อนข้างจะเป็นการเพิ่มภาระงานให้กับพื้นที่อีกด้วย นอกจากนี้โปรแกรมยังใช้ยากและมีความซับซ้อน คนที่เข้าอบรมการใช้โปรแกรม กำลังอยู่ในขั้นการทดลองปฏิบัติการใช้โปรแกรม จึงส่งผลให้ความรู้ความเข้าใจ ในการใช้โปรแกรมไม่มากนัก
    3) การพัฒนานโยบายสาธารณะ พบว่า มีฐานข้อมูลด้านสุขภาพ ที่สามารถนำไปบูรณาการกับหน่วยงานอื่นๆได้ ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านสุขภาพ คุณภาพชีวิต ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากพี่เลี้ยงจังหวัด : คนที่ออกแบบโปรแกรมอาจจะโฟกัสเฉพาะเงินกองทุน ควรออกแบบโปรแกรมให้เห็นถึงบทบาทของทุกหน่วยงานที่มาร่วมขับเคลื่อนโครงการที่สอดคล้องกับบริบทและสภาพของพื้นที่ สอดคล้องกับ ที่ปรึกษาพชอ.ระดับอำเภอ คือ สาธารณสุขอำเภอด่านซ้าย(ชำนาญ มีสุข. 2561: 119) ต้องการใช้นโยบายสาธารณะของการขอโครงการออนไลน์(Online) จากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับตำบลในการจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาในระดับตำบลโดยเน้นการดำเนินการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และมีการบริหารจัดการที่ดีทั้งการวางแผน(Plan) การปฏิบัติ(Do) การตรวจสอบ(Check) การปรับปรุง(Action) และมาตรฐาน(Standard) อย่างไรก็ตาม การผลักดันงานสาธารณสุขรวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวีตของคนด่านซ้ายจนดีขึ้นมาระดับหนึ่ง และมีการยกระดับนโยบายสาธารณะที่เกิดจากความต้องการของประชาชน คือ 1) การจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม 2) เครือข่ายการปลูกพืชปลอดภัย และ 3) คนด่านซ้ายไม่ทอดทิ้งกันมุ่งเน้นผู้พลาดโอกาสของสุขภาวะและสังคม (ชำนาญ มีสุข. 2563 : สัมภาษณ์)
    4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ยังไม่ปรากฏชัดเจนมากนัก เนื่องจากพื้นที่เน้นพัฒนาในกลุ่มเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ และ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ก่อน จึงยังไม่ได้เกิดการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประกอบกับการพัฒนาแผนงาน/โครงการ ใช้ข้อมูลของปีงบประมาณ 2563 ซึ่งมีการดำเนินการผ่านมาแล้ว จึงเน้นไปที่การฝึกใช้โปรแกรม ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ ยังไม่ได้เน้นให้มีผู้คนที่มุ่งมั่นในการเรียนรู้ดิจิทัลมากคนนัก ส่งผลให้มีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงให้มีการศึกษาเพื่อความยั่งยืน สำหรับโรงเรียนผู้สูงวัยหรือ โรงเรียนเกษตรกร ตลอดทั้ง E-Learning กับเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงภาวะผู้นำสุขภาพให้ครอบคลุมทุกตำบล และบันทึกหลังการปฏิบัติ (วิจารณ์ พานิช. 2558 : 178-197, 264-267) 5) การปรับสภาพแวดล้อมในสังคม ยังมีปรากฏรูปธรรมของการปรับสภาพแวดล้อมทางสังคมของการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ชัดเจนมากนัก ขาดการเชื่อมประสานในชุมชนเนื่องจากสภาพชุมชนแต่ละพื้นที่ของอำเภอด่านซ้ายแตกต่างกัน การขยายพื้นที่ลงใน 10 หมู่บ้านทุกตำบลยังขาดการสร้างการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบจึงเป็นภาระของหน่วยงานภาคเกษตรในการขยายงาน และการสร้างนักบริบาลยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนและค่าตอบแทนนักบริบาลไม่เหมาะสมทำให้มีการลาออกและต้องหาคนทดแทน และงบประมาณในการดูแลยังไม่สามารถจัดหาได้เท่าที่ควร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะ เป็นการตั้งเป้าหมายที่ท้ายทายแต่มีการขับเคลื่อนของการทำงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง อบต./เทศบาลแต่ยังมีนักบริบาลในระดับตำบลน้อย และมีค่าตอบแทนสำหรับผู้รับผิดชอบตามบทบาทหน้าที่ที่ไม่เหมาะสมกับบริบทและสภาพของท้องถิ่น(สุมาลี จันทศร. 2563 : 2-3)
    ข้อเสนอแนะ 1) ด้านกระบวนการพัฒนาโครงการ หรือแผนงานกองทุนที่ให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ดังนี้   (1) เพิ่มบทบาทพี่เลี้ยงอำเภอ และ แต่ละกลุ่ม ชมรม ต้องมีตัวแทนประสานกับทีมอำเภอ   (2) ค้นหาแกนนำกลุ่ม ที่มีความสนใจ กระตือรือร้น มาพัฒนาศักยภาพแผนงานและโครงการ วิเคราะห์ปัญหา กิจกรรม ตัวชี้วัด ด้วยการมีส่วนร่วมของตนเอง   (3) การสร้าง/พัฒนาศักยภาพครู ก ครู ข หรือ วิทยากรกระบวนการโครงการ ของภาคประชาชน/หน่วยบริการ เรื่องการเขียนแผนงานโครงการ และ การบริหารโครงการ   (4) ประชาคม ระดมปัญหาสุขภาพ ชี้แจงขอบเขต ชี้แจงงบประมาณ การให้ทุนตามประกาศกองทุน   (5) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อพัฒนาแผนโครงการ   (6) การคลังของ อปท.ต้องทำความเข้าใจหลักเกณฑ์การใช้   (7) ตัวชี้วัด ควรมีแผนงานโครงการ มาจากข้อมูล ภาคประชาชน/หน่วยงานอื่น เข้าใจระบบ ขั้นตอน และสามารถบริหารโครงการได้เอง และโครงการสามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อสุขภาพของกลุ่มเป้าหมายได้ 2) ด้านการพัฒนาศักยภาพกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบ   (1) อบรมเชิงปฏิบัติการ/ติดตามการทำงาน ขาขึ้น ขาเคลื่อน ขาประเมิน ทุกไตรมาส   (2) การพัฒนากลุ่มภาคประชาชนที่ขอทุนให้เข้มแข็ง มารับทุน/บริหารโครงการต่อเนื่องให้สามารถเขียนโครงการ บริหารโครงการได้ ใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง รายงานผลโครงการได้
      (3) ตัวชี้วัด ควรมีกรรมการเข้าใจกรอบการดำเนินงาน ตามประกาศปี 61 และ บทบาทหน้าที่, กรรมการลงติดตามโครงการจริง สามารถแลกเปลี่ยน ชี้แนะกองทุนด้วย กรรมการจะเห็นจุดแข็ง จุดอ่อนการดำเนินงาน และเสนอแนะการพัฒนาในปีต่อไปได้, การพัฒนากลุ่มภาคประชาชนที่ขอทุนให้เข้มแข็ง มารับทุน/บริหารโครงการต่อเนื่อง และมีผู้รับผิดชอบโครงการสามารถบริหารจัดการโครงการได้ 3) ด้านการติดตามอย่างมีส่วนร่วมทั้งโปรแกรมออนไลน์และออฟไลน์   (1) ควรผนวกโปรแกรมออนไลน์นี้เข้ากับโปรแกรม สปสช. และลดความซ้ำซ้อน ให้ใช้งานง่ายทุกระดับ ให้คนทั่วไปสามารถใช้งานได้
      (2) เลือกพื้นที่นำร่อง พัฒนาคนเสนอโครงการให้บันทึกข้อมูลในระบบออนไลน์ได้ 4) ด้านการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระหว่าง พชอ. กับกองทุนสุขภาพตำบล   (1) การใช้ข้อมูลปัญหาสถานการณ์ จากกองทุนสุขภาพฯ ที่บันทึกในโปรแกรมออนไลน์ เป็นฐานในแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน   (2) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOU) การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่อำเภอด่านซ้ายในแต่ละตัวบ่งชี้ และหรือธรรมนูญ ในแต่มาตรา จะมีกิจกรรมสำคัญ ควรจะมีจัดระบบ หรือแบ่งบาทบาทหน้าที่ ว่ากิจกรรมในแต่ละขั้นตอน จะประสานให้ใครช่วยขับเคลื่อน เช่น อาหารปลอดภัย กิจกรรมการให้ความรู้ด้านการเกษตรจะเป็นของเกษตรอำเภอ กิจกรรมคัดกรองสารตกค้างในเลือด จะเป็นกองทุนสุขภาพ กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ จะเป็นของกลุ่มปลูกผัก และกองทุนสุขภาพ เป็นต้น   (3) ตัวชี้วัด ควรแก้ไขปัญหาลดลง/มีเครือข่ายคน กลุ่มคนชุมชนเรียนรู้สุขภาพที่เข้มแข็งขึ้น โดยมีการบูรณาการงบประมาณจากหลายหน่วยงาน และมีผู้นำรุ่นใหม่ๆที่มีภาวะผู้นำแบบบูรณาการเพิ่มมากขึ้น

     

     


    โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพพชุมชน เขต 8 อ.ด่านซ้าย จ.เลย(ฉบับจริง ) จังหวัด เลย

    รหัสโครงการ

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นส.วนิดา วินะกุล )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด