ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จังหวัดลำปาง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จังหวัดลำปาง ”

จังหวัดลำปาง

หัวหน้าโครงการ
นาง กมลวรรณ จันทร์พรมมิน,นางกรพินธุ์ วงศ์เจริญ

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จังหวัดลำปาง

ที่อยู่ จังหวัดลำปาง จังหวัด ลำปาง

รหัสโครงการ 6102056 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2563


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จังหวัดลำปาง จังหวัดลำปาง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดลำปาง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จังหวัดลำปาง



บทคัดย่อ

โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการ การขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในวัยรุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น บูรณาการกับงานป้องกัน เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ และเพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดลำปาง มีกระบวนการดำเนินการ 4 กระบวนการ คือ 1) การบูรณาการทำงานปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกับ HIV/AIDS STI และยาเสพติด โดยการพัฒนากลไกระดับจังหวัดและระดับอำเภอ การพัฒนายุทธศาสตร์และแผนงานแบบมีส่วนร่วมสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง จัดการเรียนรู้ข้ามเครือข่าย การปรับทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อวัยรุ่น 2) หนุนเสริมคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ด้วยการหนุนเสริมด้านประสบการณ์การทำงาน วิชาการ การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาหลักสูตรการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยให้คณะทำงานกลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง เป็นคณะทำงานตามคำสั่งคณะทำงานยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปางทุกยุทธศาสตร์ การสื่อสารรณรงค์สาธารณะผ่านทางสื่อวิทยุ Facebook Line Youtube และการจัดกิจกรรมรณรงค์ การติดตามประเมินผลภายใน การรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดลำปาง 3) การพัฒนาองค์กรสาธารณประโยชน์ในระดับพื้นที่ และหนุนเสริมเยาวชน ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน OSCC ด้วยการจัดทำแผนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนร่วมกัน พัฒนาศักยภาพและปรับทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อวัยรุ่นและการสร้างทีมวิทยากรสื่อสารเรื่องเพศ อนามัยเจริญพันธ์ โดยใช้หลักสูตรการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับบุตรหลานเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน และเพศวิถี ของมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (path2health foundation) สนับสนุนสื่อ งบประมาณ และการ coaching 4) การประสานและสนับสนุนการทำงานของคณะทำงานภายใต้ยุทธศาสตร์งานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และกลไกจังหวัดที่มีอยู่ ด้านการดำเนินงานป้องกันเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ด้วยการพัฒนาศักยภาพสถานศึกษาเป็นหน่วยงานต้นแบบระดับอำเภอ พัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองให้มีการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว จัดให้มีศูนย์บริการที่เป็นมิตรในสถานศึกษา การให้ความช่วยเหลือและการส่งต่อวัยรุ่นที่มีปัญหาการตั้งครรภ์/เอชไอวี/เอดส์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/ยาเสพติด และพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยรุ่นให้มีความสามารถด้านการสื่อสารเรื่องเพศ สิทธิวัยรุ่น การช่วยเหลือเพื่อนให้รอดปลอดภัยและการเข้าถึงบริการที่เป็นมิตร ใช้กรอบ ขั้นตอน กระบวนการ HIA และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามกรอบยุทธศาสตร์ของ สสส. กำหนดขอบเขตแนวทางการศึกษา ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ คณะทำงานภาคีเครือข่ายและองค์กรสาธารณประโยชน์มีพลังและความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน ที่สามารถขยายหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้น รวมทั้งเกิดการสร้างทีมระดับปฏิบัติการใน 13 อำเภอ และสถาบันการศึกษาภาครัฐ จำนวน 14 โรงเรียน ที่มีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจึงจะทำให้เกิดความเข้มแข็ง เกิดการร่วมมือกันระดับปฏิบัติการในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับวัยรุ่น เกิดการเรียนรู้ข้ามหน่วยงานและเครือข่าย เกิดทีมวิทยากรระดับอำเภอ 13 อำเภอ และในโรงเรียน 14 โรงเรียน ระดับนโยบายเกิดการออกแบบและกำหนดทิศทางการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่มองการบูรณาการมากขึ้น เกิดทีมวิทยากรในสถานศึกษาของรัฐ 14 โรงเรียน ที่มีการจัดฝึกอบรมสื่อสารเรื่องเพศ อนามัยเจริญพันธ์ ให้กับแกนนำนักเรียน ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เกิดการขับเคลื่อน และเกิดรูปแบบการบูรณาการ โดย กลุ่มเพื่อนและเด็กและเยาวชนลำปาง องค์กรสาธารณประโยชน์ จำนวน 3 รูปแบบ คือ 1) การบูรณาการประเด็น การตั้งครรภ์ เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในวัยรุ่น 2) การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน 3) การบูรณาการภายในหน่วยงาน กระบวนการดำเนินงานดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการบูรณาการ คือ บูรนณาการคน เงิน งาน การบริหารจัดการ ปฏิบัติการร่วม และติดตามประเมินผลร่วม ถึงอย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของรูปแบบการบูรณาการ โดยองค์กรสาธารณะประโยชน์ กลุ่มเพื่อเด็กและเยาวชนลำปางเป็นเพียงการก่อตัวที่ไม่เข้มแข็งมากพอและรอโอกาสในการพัฒนาต่อไป

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เด็กและเยาวชนเยาวชนจังหวัดลำปาง ปี 2559 (อายุต่ำกว่า 18 ปี) ติดเกมและการพนันต่างๆร้อยละ 0.13 รองลงมา คือ ติดเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี สารระเหย และมั่วสุมและทำความรำคาญให้ชาวบ้าน ร้อยละ 0.08 และเด็กที่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ไม่พร้อมในการเลี้ยงดูบุตร ร้อยละ 0.05 สำหรับสถานการณ์เยาวชน (อายุตั้งแต่ 18 – 25 ปี) มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ส่วนใหญ่ ติดเหล้า เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด ยาบ้า ยาไอซ์ ยาอี สารระเหย กัญชา ร้อยละ 0.49 รองลงมาคือมั่วสุมและทำความรำคาญให้ชาวบ้าน ร้อยละ 0.14 ติดเกมและการพนันต่างๆร้อยละ 0.13 ในปี 2560 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 , มัธยมศึกษาปีที่ 5 และ นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา ปวช. ปีที่ 2 จำนวน 1,966 คน มีความรู้เรื่องโรคเอดส์ ร้อยละ 12.13 และพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์อื่นๆ ที่น่าเป็นห่วง คือ ยังใช้วิธีที่ใช้ในการป้องกันการตั้งครรภ์ แบบหลั่งข้างนอก ชาย ร้อยละ 17.61  หญิง ร้อยละ 21.74 , ใช้วิธีการนับระยะปลอดภัย หรือ หน้า 7 หลัง 7  ชาย ร้อยละ 10.06 หญิง ร้อยละ 6.09 และ ใช้ถุงยางอนามัยชาย ชาย ร้อยละ 51.57  หญิง ร้อยละ 51.30 ทุกกลุ่มมีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยค่อนข้างต่ำ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอชไอวี/เอดส์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
    ช่วง เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2557 ถึงมีนาคม พ.ศ.2561 จังหวัดลำปาง ได้ดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีการขับเคลื่อนงานแบบบูรณาการทุกภาคส่วน ภายใต้กรอบภารกิจ 9 ด้าน ซึ่งได้ดำเนินการก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ.2559 ทำให้สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัด มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยก่อนเริ่มดำเนินงานโครงการ (พ.ศ. 2557) มีอัตราการคลอดของหญิงอายุ 15 – 19 ปี อัตรา 28 ต่อ 1,000 คน หลังสิ้นสุดโครงการฯ (พ.ศ.2560) มีอัตราการคลอด ของหญิงอายุ 15 – 19 ปี อัตรา 22.32 ต่อ 1,000 คน อัตราการตั้งครรภ์ซ้ำ ของหญิงอายุ 15 – 19 ปี ลดลง โดยก่อนเริ่มดำเนินงานโครงการ (พ.ศ. 2557) มีอัตรา ร้อยละ 11.23 หลังสิ้นสุดโครงการฯ (พ.ศ.2560) มีอัตรา ร้อยละ 9.52 จำนวนร้อยละของหญิงอายุ 15 – 19 ปี ที่คลอด หรือ แท้ง ได้รับบริการคุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร (ยาฝังคุมกำเนิด) เพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มดำเนินงานโครงการฯ แต่ไม่ถึงเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ ร้อยละ 80 โดยมีข้อมูลก่อนดำเนินงานโครงการ (พ.ศ.2557) ร้อยละ 12 และหลังสิ้นสุดโครงการฯ (พ.ศ.2560) ร้อยละ 31.94 เท่านั้น เนื่องจากหญิงที่ไม่คุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร พบข้อมูลว่าแต่งงานมีครอบครัว จึงไม่ประสงค์คุมกำเนิดแบบกึ่งถาวร นอกจากนี้ยังเกิดภาคีเครือข่ายองค์กรสาธารณประโยชน์ ด้านเด็กและเยาวชน นักวิชาการอิสระ เป็นองค์กรที่ดำเนินงานด้านวัยรุ่นมาอย่างต่อเนื่อง 5 องค์กร จำนวน 6 คน หน่วยงานภาครัฐ 5 กระทรวงหลักในอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา ตั้งครรภ์ในวันรุ่นกลุ่มองค์กรเครือข่ายระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ จำนวน 69 หน่วยงาน และกระทรวงอื่น จำนวน 1 หน่วยงาน 93 คน ได้แก่ กระทรวง พม. จำนวน 1 หน่วยงาน กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 36 หน่วยงาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 21 หน่วยงาน กระทรวงมหาดไทย จำนวน 10 หน่วยงาน กระทรวงแรงงาน จำนวน 1 หน่วยงาน และกระทรวงอื่น จำนวน 1 หน่วยงาน คือ อุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการ การขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น บูรณาการกับงานป้องกัน เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ 2. เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปาง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. การประชุมคณะทำงานกลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชน 8 ครั้ง
  2. 2. การประชุมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ภาคีเครือข่ายฯ 1 ครั้ง
  3. 3. การประชุมเพื่อวิเคราะห์ภาคีเครือข่ายองค์กรสาธารณประโยชน์ ด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 1 ครั้ง
  4. 4. การอบรมพัฒนาศักยภาพองค์กรสาธารณประโยชน์ 1 ครั้ง
  5. 6. เวทีถอดบทเรียนการดำเนินงาน 1 ครั้ง
  6. 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.1 การประชุมวางแผน ร่วมกับสถานศึกษา ฝ่ายวิชาการ 2 ครั้ง
  7. 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.2 เยี่ยมติดตามการเดินงานสถานศึกษา 2 ครั้งต่อปี
  8. 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.4 การอบรมสร้างกระบวนกรนักสื่อสารสุขภาวะทางเพศ
  9. 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.3 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเพศวิถีศึกษาจังหวัด
  10. 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.6 จัดทำสื่อ เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ และ แนะนำบริการที่เป็นมิตรในจังหวัด5
  11. 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.7 การประชุมชี้แจงผู้ที่เกี่ยวข้อง เป้าหมายพื้นที่ต้นแบบ 1 ครั้ง
  12. 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.8 การอบรมพัฒนาผู้ให้บริการ ของศูนย์บริการที่เป็นมิตรในสถานศึกษา
  13. 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.9 เยี่ยมติดตามหนุนเสริมสถานบริการฯต้นแบบ
  14. 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.10 จัดทำสื่อสนับสนุนสถานบริการฯ ต้นแบบ
  15. 7. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ ฯ 7.1 การประชุมคณะทำงานภาคีองค์กรสาธาณประโยชน์ พัฒนารูปแบบการสื่อสารทักษะชีวิต
  16. 7. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ ฯ 7.2 อบรมพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยรุ่น
  17. 7. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ ฯ 7.3 การประชุมแกนนำวัยรุ่น เพื่อจัดทำแผนงานกิจกรรม และ ติดตามการดำเนินงาน
  18. 7. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ ฯ 7.4 สนับสนุนการจัดกิจกรรมแกนนำวัยรุ่น เรื่อง การเผยแพร่ความรู้ทักษะชีวิต และ สิทธิวัยรุ่น
  19. 7. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือ ฯ 7.5 กิจกรรมสื่อสาร รณรงค์สาธารณะ
  20. 8. การบูรณาการ การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล 8.1 การประชุมคณะทำงานติดตามหนุนเสริม
  21. 8. การบูรณาการ การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล 8.2 การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนหนุนเสริมการบูรณาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด
  22. 8. การบูรณาการ การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล 8.3 การประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Best practice
  23. 8. การบูรณาการ การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล 8.4 จัดเวทีติดตามประเมินผลโครงการ 2 ครั้ง
  24. 8. การบูรณาการ การจัดการความรู้ และการติดตามประเมินผล 8.5 ติดตามการดเนินงาน รวบรวม สรุปวิเคราะห์และจัดทำรายงานการติดผลภายใน
  25. 9. ค่าตอบแทนและบริหารจัดการ
  26. 5. พัฒนาศูนย์บริการที่เป็นมิตรฯ 5.5 การอบรมพัฒนาทักษะพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่มีลูกวัยรุ่น 13 ครั้ง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี)
วัยเรียน (6-12 ปี)
วัยรุ่น (13-15 ปี) 1,300
เยาวชน (15-20 ปี) 1,300
วัยทำงาน
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ
ผู้หญิง
มุสลิม
พระภิกษุ
ชาติพันธุ์
ผู้ต้องขัง
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ)
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ)
แรงงานข้ามชาติ
อื่น ๆ
พ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีลูกหลานวัยรุ่น 1,300

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดรูปแบบ การบูรณาการการขับเคลื่อนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น กับ การป้องกันเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และ ยาเสพติด โดยองค์กรสาธารณประโยชน์


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการ การขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น บูรณาการกับงานป้องกัน เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ 2. เพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปาง
ตัวชี้วัด : 1. การเข้าเป็นหน่วยประสานงาน ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปาง และ มีบทบาทหน้าที่ชัดเจน ขององค์กร สาธารณประโยชน์ (กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง) โดยสามารถทำงานร่วมกันกับกลไกจังหวัด 2. มีแผนปฏิบัติงานรายปี ของจังหวัด ที่กลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง ได้เข้ามีส่วนร่วม 3. รายการ และ จำนวน กิจกรรมที่สะท้อนการ บูรณาการเชิงเนื้อหา และ ผลผลิตของกิจกรรมนั้นๆ 4. หน่วยงาน องค์กร จำนวนผู้มีแนวคิด เชิงบวก ด้านสุขภาพทางเพศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50% ภายหลังการดำเนินโครงการฯ
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 3900
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) 1,300
เยาวชน (15-20 ปี) 1,300
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
พ่อแม่ ผู้ปกครองที่มีลูกหลานวัยรุ่น 1,300

บทคัดย่อ*

โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการ การขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในวัยรุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น บูรณาการกับงานป้องกัน เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติด โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ และเพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดลำปาง มีกระบวนการดำเนินการ 4 กระบวนการ คือ 1) การบูรณาการทำงานปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นกับ HIV/AIDS STI และยาเสพติด โดยการพัฒนากลไกระดับจังหวัดและระดับอำเภอ การพัฒนายุทธศาสตร์และแผนงานแบบมีส่วนร่วมสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง จัดการเรียนรู้ข้ามเครือข่าย การปรับทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อวัยรุ่น 2) หนุนเสริมคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ด้วยการหนุนเสริมด้านประสบการณ์การทำงาน วิชาการ การพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาหลักสูตรการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ โดยให้คณะทำงานกลุ่มเพื่อนเพื่อเด็กและเยาวชนจังหวัดลำปาง เป็นคณะทำงานตามคำสั่งคณะทำงานยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จังหวัดลำปางทุกยุทธศาสตร์ การสื่อสารรณรงค์สาธารณะผ่านทางสื่อวิทยุ Facebook Line Youtube และการจัดกิจกรรมรณรงค์ การติดตามประเมินผลภายใน การรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจังหวัดลำปาง 3) การพัฒนาองค์กรสาธารณประโยชน์ในระดับพื้นที่ และหนุนเสริมเยาวชน ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน OSCC ด้วยการจัดทำแผนงานพัฒนาเด็กและเยาวชนร่วมกัน พัฒนาศักยภาพและปรับทัศนคติเชิงบวกที่มีต่อวัยรุ่นและการสร้างทีมวิทยากรสื่อสารเรื่องเพศ อนามัยเจริญพันธ์ โดยใช้หลักสูตรการสื่อสารระหว่างพ่อแม่ผู้ปกครองกับบุตรหลานเพื่อส่งเสริมสุขภาวะทางเพศในเยาวชน และเพศวิถี ของมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (path2health foundation) สนับสนุนสื่อ งบประมาณ และการ coaching 4) การประสานและสนับสนุนการทำงานของคณะทำงานภายใต้ยุทธศาสตร์งานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และกลไกจังหวัดที่มีอยู่ ด้านการดำเนินงานป้องกันเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ด้วยการพัฒนาศักยภาพสถานศึกษาเป็นหน่วยงานต้นแบบระดับอำเภอ พัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองให้มีการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัว จัดให้มีศูนย์บริการที่เป็นมิตรในสถานศึกษา การให้ความช่วยเหลือและการส่งต่อวัยรุ่นที่มีปัญหาการตั้งครรภ์/เอชไอวี/เอดส์/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/ยาเสพติด และพัฒนาศักยภาพแกนนำวัยรุ่นให้มีความสามารถด้านการสื่อสารเรื่องเพศ สิทธิวัยรุ่น การช่วยเหลือเพื่อนให้รอดปลอดภัยและการเข้าถึงบริการที่เป็นมิตร ใช้กรอบ ขั้นตอน กระบวนการ HIA และปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามกรอบยุทธศาสตร์ของ สสส. กำหนดขอบเขตแนวทางการศึกษา ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ คณะทำงานภาคีเครือข่ายและองค์กรสาธารณประโยชน์มีพลังและความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน ที่สามารถขยายหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐและเอกชนเพิ่มขึ้น รวมทั้งเกิดการสร้างทีมระดับปฏิบัติการใน 13 อำเภอ และสถาบันการศึกษาภาครัฐ จำนวน 14 โรงเรียน ที่มีการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจึงจะทำให้เกิดความเข้มแข็ง เกิดการร่วมมือกันระดับปฏิบัติการในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับวัยรุ่น เกิดการเรียนรู้ข้ามหน่วยงานและเครือข่าย เกิดทีมวิทยากรระดับอำเภอ 13 อำเภอ และในโรงเรียน 14 โรงเรียน ระดับนโยบายเกิดการออกแบบและกำหนดทิศทางการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานที่มองการบูรณาการมากขึ้น เกิดทีมวิทยากรในสถานศึกษาของรัฐ 14 โรงเรียน ที่มีการจัดฝึกอบรมสื่อสารเรื่องเพศ อนามัยเจริญพันธ์ ให้กับแกนนำนักเรียน ยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เกิดการขับเคลื่อน และเกิดรูปแบบการบูรณาการ โดย กลุ่มเพื่อนและเด็กและเยาวชนลำปาง องค์กรสาธารณประโยชน์ จำนวน 3 รูปแบบ คือ 1) การบูรณาการประเด็น การตั้งครรภ์ เอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาเสพติดในวัยรุ่น 2) การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน 3) การบูรณาการภายในหน่วยงาน กระบวนการดำเนินงานดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการบูรณาการ คือ บูรนณาการคน เงิน งาน การบริหารจัดการ ปฏิบัติการร่วม และติดตามประเมินผลร่วม ถึงอย่างไรก็ตามการเกิดขึ้นของรูปแบบการบูรณาการ โดยองค์กรสาธารณะประโยชน์ กลุ่มเพื่อเด็กและเยาวชนลำปางเป็นเพียงการก่อตัวที่ไม่เข้มแข็งมากพอและรอโอกาสในการพัฒนาต่อไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนารูปแบบบูรณาการการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์กับเอชไอวี/เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และยาเสพติด ในวัยรุ่น โดยองค์กรสาธารณประโยชน์ จังหวัดลำปาง จังหวัด ลำปาง

รหัสโครงการ 6102056

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นาง กมลวรรณ จันทร์พรมมิน,นางกรพินธุ์ วงศ์เจริญ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด