ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 10 ”

อุบลราชธานี มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ

หัวหน้าโครงการ
นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์

ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 10

ที่อยู่ อุบลราชธานี มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ จังหวัด อำนาจเจริญ

รหัสโครงการ เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 5 สิงหาคม 2562 ถึง 31 กรกฎาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 10 จังหวัดอำนาจเจริญ" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อุบลราชธานี มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 10



บทคัดย่อ

การติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 10 โดยมีวัตถุประสงค์เเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่ เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษากลไกการดำเนินงานของคณะทำงานในโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากโปรแกรมในระบบออนไลน์ ข้อมูลจากแผน โครงการ เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม โดยประยุกต์ใช้ขั้นตอนการประเมินผลกระทบสุขภาพ (HIA) ประกอบด้วย การกลั่นกรอง (Screening) การกำหนดขอบเขต (Scoping) การประเมินผลกระทบ (Appraisal) และการจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ (Reporting and Recommentations) โดยใช้แนวทางการพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามกรอบปัจจัยกำหนดสุขภาพ ได้แก่ ปัจเจกบุคคล สภาพแวดล้อม และระบบและกลไก วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินพบว่า ทีมงานผู้ประสานงานเขต 10 มีการดำเนินงานเพื่อบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ มีการพัฒนาศักยภาพคนทั้งในระดับเขต และระดับพื้นที่ แต่ยังขาดการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล มีระบบ กลไก ในการทำให้เกิดแผนงาน โครงการ ที่มีคุณภาพ หากแต่ขาดฐานข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และมีสภาพแวดล้อม คือมีการหนุนเสริมด้วยระบบโปรแกรมออนไลน์ หากแต่มีความซับซ้อนของการใช้งานในระดับพื้นที่และเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ปฏิบัติงาน ควรมีการผนวกรวมร่วมกับระบบของ สปสช.

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับเขต ให้สามารถสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ
  2. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนตำบล ให้มีความเข้าใจการจัดทำแผนกองทุนสุขภาพตำบลโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาวะในพื้นที่ตำบล
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามโครงการ
  4. เพื่อจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการ และติดตามโครงการในระบบโปรแกรม
  5. เพื่อให้เกิดการบูรณาการในระบบโปรแกรมระหว่าง พชอ.กับกองทุนสุขภาพตำบล

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมชี้แจงทีมระดับเขตพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมการดำเนินงาน
  2. ประชุมชี้แจงทีมระดับพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมการดำเนินงาน อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ
  3. ประชุมชี้แจงทีมระดับพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 พื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ
  4. ประชุมวางแผนติดตามแผนและโครงการแต่ละกองทุน
  5. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแผนและข้อเสนอโครงการกองทุนฯ พื้นที่ อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี)
วัยเรียน (6-12 ปี)
วัยรุ่น (13-15 ปี)
เยาวชน (15-20 ปี)
วัยทำงาน
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ
ผู้หญิง
มุสลิม
พระภิกษุ
ชาติพันธุ์
ผู้ต้องขัง
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ)
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ)
แรงงานข้ามชาติ
อื่น ๆ
คณะกรรมการกองทุนตำบล 56
ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน โครงการกองทุน 24
พี่เลี้ยงระดับเขตวิเคราะห์เฉพาะอำเภอปุมราชวงศา จัง 3

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาวะที่ดีขึ้น
  2. พชอ.มีฐานข้อมูลระดับตำบล,อำเภอ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมชี้แจงทีมระดับเขตพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมการดำเนินงาน

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กลไกมีความเข้าใจกระบวนการ เครื่องมือ เป้าหมายการดำเนินงานชัดเจนร่วมกัน
  2. ทีมพี่เลี้ยงจังหวัดรับรู้บทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนหนุนเสริมในพื้นที่ระดับจังหวัด
  3. ได้รับรู้ข้อมูลกองทุนฯ ที่เป้าหมายเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการจัดทำแผนกองทุน กลุ่มเป้าหมาย รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย ทีมพี่เลี้ยงเขต
  4. ทีมพี่เลี้ยงโครงการ 5 คน
  5. สปสช. 1 คน
  6. ทีมบริหารโครงการ 2 คน ทีมพี่เลี้ยงจังหวัด
  7. พชอ. ละ 2 คน (สสอ. ,ผู้ช่วย) 12 คน
  8. Coaching 5 คน
  9. คณะทำงานโครงการพื้นที่เก่า 5 คน รวม 30 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย มีความเข้าใจภาพรวมของการดำเนินงาน

 

30 0

2. ประชุมชี้แจงทีมระดับพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมการดำเนินงาน อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ

วันที่ 11 ธันวาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

กลุ่มเป้าหมาย 80 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย 1.คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล 2. สสอ. 3. ท้องถิ่นอำเภอ 4. พี่เลี้ยงระดับ

รายละเอียดกิจกรรม : 1. กรรมการกองทุนสุขภาพตำบลได้เรียนรู้การจัดทำแผนโครงการที่ดี 2. ได้แบบการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะตำบล 3. ได้แนวทางการจัดทำแผนโครงการที่สอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาวะตำบล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แผนโครงการ ข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะตำบล แนวทางการจัดทำแผนโครงการที่สอดคล้องกับสถานการณ์สุขภาวะตำบล

 

80 0

3. ประชุมชี้แจงทีมระดับพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจภาพรวมการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 พื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ

วันที่ 23 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

กลุ่มเป้าหมาย 39 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย 1. ตัวแทนผู้รับผิดชอบกองทุน กรรมการกองทุน ผู้ขอรับทุนกองทุน 2. คณะทำงานระดับอำเภอ 3. พี่เลี้ยงระดับเขต

รายละเอียดกิจกรรม : 1. ชี้แจงการจัดทำแผนงานและการพัฒนาโครงการ 2. นำเสนอตัวอย่างการจัดทำแผนงาน และโครงการมีคุณภาพ 3. ผู้เข้าร่วม (ตัวแทนกองทุน) ปฏิบัติการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการในระบบ 4. สรุปผลการดำเนินงานและกำหนดทิศทางการปฏิบัติต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การจัดทำแผนงานและการพัฒนาโครงการอย่างมีคุณภาพ นำแผนงานและการพัฒนาโครงการกรอกข้อมูลเข้าสู่ระบบโปรแกรม

 

39 0

4. ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแผนและข้อเสนอโครงการกองทุนฯ พื้นที่ อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ

วันที่ 14 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

กลุ่มเป้าหมาย 33 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย 1. กองทุนละ 3 คน * 8 กองทุน รวม 24 คน 2. คณะทำงาน อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ 3 คน 3. พี่เลี้ยง 5 คน 4. สปสช. 1 คน

รายละเอียดกิจกรรม : 1. พบปะพูดคุยและมอบหมายแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องการดำเนินงานขับเคลื่อนประเด็น พชอ. 2. นำเสนอข้อมูลความคืบหน้าการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น 3. แบ่งกลุ่ม ปฏิบัติการจัดทำแผนงานและพัฒนาโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระบบอิเล็คทรอนิคส์ 4. สรุปผลการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะการจัดทำแผนงานและพัฒนาข้อเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ข้อเสนอแนะการจัดทำแผนงานและพัฒนาข้อเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น

 

33 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงระดับเขต ให้สามารถสนับสนุนการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการใช้ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนของพี่เลี้ยงระดับเขตวิเคราะห์เฉพาะอำเภอปุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ได้รับการพัฒนาศักยภาพ
3.00

 

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนตำบล ให้มีความเข้าใจการจัดทำแผนกองทุนสุขภาพตำบลโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาวะในพื้นที่ตำบล
ตัวชี้วัด : จำนวนคนที่มีความเข้าใจการจัดทำแผนกองทุนสุขภาพตำบลโดยวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาสุขภาวะในพื้นที่ตำบล
80.00

 

3 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามโครงการ
ตัวชี้วัด : จำนวนผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน การพัฒนาข้อเสนอโครงการ และการติดตามโครงการ
24.00

 

4 เพื่อจัดทำแผนงาน พัฒนาโครงการ และติดตามโครงการในระบบโปรแกรม
ตัวชี้วัด : จำนวนแผนงาน พัฒนาโครงการ และติดตามโครงการในระบบโปรแกรม (อย่างน้อยกองทุนละ 1)
0.00 8.00

 

5 เพื่อให้เกิดการบูรณาการในระบบโปรแกรมระหว่าง พชอ.กับกองทุนสุขภาพตำบล
ตัวชี้วัด : มีแผนการบูรณาการในระบบโปรแกรมระหว่าง พชอ.กับกองทุนสุขภาพตำบล (แผนเฉพาะประเด็น)
0.00 3.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 83
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -
คณะกรรมการกองทุนตำบล 56
ผู้รับผิดชอบในการจัดทำแผน โครงการกองทุน 24
พี่เลี้ยงระดับเขตวิเคราะห์เฉพาะอำเภอปุมราชวงศา จัง 3

บทคัดย่อ*

การติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 10 โดยมีวัตถุประสงค์เเพื่อติดตามและประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะระดับพื้นที่ เขต 10 จังหวัดอุบลราชธานี และเพื่อศึกษากลไกการดำเนินงานของคณะทำงานในโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากโปรแกรมในระบบออนไลน์ ข้อมูลจากแผน โครงการ เอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม โดยประยุกต์ใช้ขั้นตอนการประเมินผลกระทบสุขภาพ (HIA) ประกอบด้วย การกลั่นกรอง (Screening) การกำหนดขอบเขต (Scoping) การประเมินผลกระทบ (Appraisal) และการจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะ (Reporting and Recommentations) โดยใช้แนวทางการพิจารณาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จตามกรอบปัจจัยกำหนดสุขภาพ ได้แก่ ปัจเจกบุคคล สภาพแวดล้อม และระบบและกลไก วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินพบว่า ทีมงานผู้ประสานงานเขต 10 มีการดำเนินงานเพื่อบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ มีการพัฒนาศักยภาพคนทั้งในระดับเขต และระดับพื้นที่ แต่ยังขาดการพัฒนาศักยภาพของคณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล มีระบบ กลไก ในการทำให้เกิดแผนงาน โครงการ ที่มีคุณภาพ หากแต่ขาดฐานข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญเพื่อใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย และมีสภาพแวดล้อม คือมีการหนุนเสริมด้วยระบบโปรแกรมออนไลน์ หากแต่มีความซับซ้อนของการใช้งานในระดับพื้นที่และเป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ปฏิบัติงาน ควรมีการผนวกรวมร่วมกับระบบของ สปสช.

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

1 องค์ประกอบและคุณสมบัติของคณะทำงานโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ เขต 10 มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ สมัชชาสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2545 ทำให้มีเครือข่ายการทำงานที่เข้มแข็งและได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายที่ทำงานด้านการบูรณาการขับเคลื่อนงานด้านสร้างเสริมสุขภาวะเป็นอย่างดีและราบรื่น 2 การแบ่งงานทีมผู้ประสานงานเขต เพื่อเป็นทีมพี่เลี้ยงติดตามหนุนเสริมแต่ละจังหวัด ได้แก่ 1. ดร.พิสมัย ศรีเนตร เป็นพี่เลี้ยงประจำจังหวัดอุบลราชธานี 2. นายวินัย วงศ์อาสา เป็นพี่เลี้ยงประจำจังหวัดศรีสะเกษ 3. นางสาวดวงมณี นารีนุช เป็นพี่เลี้ยงประจำจังหวัดมุกดาหาร 4. นายรพินทร์ ยืนยาว เป็นพี่เลี้ยงประจำจังหวัดอำนาจเจริญ และ 5. นายสงกา สามารถ เป็นพี่เลี้ยงประจำจังหวัดยโสธร


1) โครงการ กิจกรรมในกองทุนสุขภาพตำบล ส่วนใหญ่ เป็นโครงการที่ถูกนำเสนอขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กรในพื้นที่ เช่น รพ.สต. ชมรมผู้สูงอายุ โรงเรียนฯ

2) การจัดทำโครงการจะถูกเขียนขึ้นมาจากการจัดสรรงบประมาณ ที่คณะกรรมการกองทุนสุขภาพตำบลได้พิจารณาอนุมัติแล้ว แต่ละหน่วยงานก็นำไปเขียนจัดปรับโดยอิงกับกรอบการใช้เงินของ สตง.เป็นหลัก

3) กองทุนสุขภาพตำบลใช้การติดตามประเมินผล ผ่านการทำรายงานและการลงพื้นที่เข้าร่วมในกิจกรรม แต่ไม่มีการใช้ระบบออนไลน์เนื่องจากคิดว่าไม่จำเป็นและมีความซับซ้อนการกรอกในระบบของสป.สช.

ข้อเสนอแนะ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ การคัดเลือกทีมผู้ประสานงานที่มีประสบการณ์การทำงาน เช่นการทำงานของทีมผู้ประสานงานเขต 10 ที่ได้มูลนิธิประชาสังคม มาเป็นผู้ขับเคลื่อนให้เกิดการบูรณาการเนื่องจากมีเครือข่าย มีทุนเดิมตั้งแต่สมัชชาสุขภาพ ดังนั้น การคัดเลือกและกำหนดคุณสมบัติของทีมผู้ประสานงานเขตในการทำงานเชิงบูรณาการขับเคลื่อน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ อย่างไรก็ตาม การทำงานของทีมผู้ประสานงานเขต มีความท้าทายเนื่องมาจากคณะทำงานเป็นบุคคลภายนอกที่มิได้ให้คุณให้โทษในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ จึงเป็นไปในลักษณะขอความร่วมมือ กลไกการทำงานของ พชอ. ควรเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนกระบวนการทำงานของทีมผู้ประสานงานเขต หากเป็นไปได้ สปสช. ควรเข้ามามีบทบาทในการทำงานร่วมกับ พชอ. เพราะ สปสช. สามารถให้คุณให้โทษกับคณะทำงานในพื้นที่
การกรอกข้อมูลในโปรแกรมออนไลน์ มีประโยชน์ หากสามารถจัดการเรื่องของความสอดคล้องของระยะเวลาการดำเนินงานจริงของพื้นที่ เพราะที่ผ่านมาในปี 2563 เป็นการกรอกข้อมูลย้อนกระบวนการ เนื่องจากกองทุนสุขภาพตำบลได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว เนื่องจากระบบการกรอกข้อมูล การนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะในระดับพื้นที่อยู่ในช่วงการพัฒนาและปรับปรุง ทำให้ทีมผู้ประสานงานเขต และทีมพี่เลี้ยง ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการเข้าถึงข้อมูลของทีมกองทุนสุขภาพตำบล ยังอยู่ในวงจำกัด การเข้ามาเรียนรู้เพื่อใช้โปรแกรม ขาดความต่อเนื่องมีการเปลี่ยนตัวผู้เข้ามาประชุม และขาดระบบสร้างแรงจูงใจให้กองทุนสุขภาพตำบลเข้ามาใช้โปรแกรม หากเป็นไปได้ควรมีการผนวกรวมกับโปรแกรมของ สปสช.

 

 


โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชน เขต 10 จังหวัด อำนาจเจริญ

รหัสโครงการ

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวจงกลนี ศิริรัตน์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด