ระบบติดตามและประเมินผลโครงการ ( M&E Thailand )

directions_run

โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชนเขต 4 อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี (ประเมินจริง)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชนเขต 4 อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี (ประเมินจริง) ”

อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

หัวหน้าโครงการ
อ.ประเสริฐ เล็กสรรเสริญ

ชื่อโครงการ โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชนเขต 4 อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี (ประเมินจริง)

ที่อยู่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัด นนทบุรี

รหัสโครงการ xxx เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 5 สิงหาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชนเขต 4 อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี (ประเมินจริง) จังหวัดนนทบุรี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชนเขต 4 อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี (ประเมินจริง)



บทคัดย่อ

การติดตาม สนับสนุน และประเมินผล เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินโครงการสามารถดำเนินไปสู่จุดหมายได้สำเร็จ โดยผู้ประเมินสามารถค้นหาปัจจัยส่งเสริม ปัญหาอุปสรรค รวมถึงวิเคราะห์และสรุปผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการได้ในทุกขั้นตอน การประเมินผลแบบเสริมพลังการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการประเมินที่ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน และส่งเสริมให้งานบรรลุได้ตามวัตถุประสงค์และความคาดหวังของทุกฝ่ายได้ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการดำเนินงานและผลจากการดำเนินโครงการบูรณาการฯ 2) ศึกษาอุปสรรคปัญหาในการดำเนินโครงการบูรณาการฯ 3) ศึกษาปัจจัยโอกาสในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมาย และ 4) เสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ปัญหาและส่งเสริมปัจจัยความสำเร็จ คณะผู้วิจัยได้เลือกใช้กระบวนการประเมินผลตามกรอบแนวคิด Health Impact Assessment (HIA) ร่วมกับการประยุกต์ใช้กรอบการประเมินผล Ottawa Charter, System theory และ CIPP model โดยขั้นตอนของการดำเนินงานประกอบด้วย 1) การกลั่นกรองโดยสาธารณะ 2) การกำหนดขอบเขตการประเมินผลโดยสาธารณะ 3.) การประเมินผลกระทบ 4.) การทบทวนร่างรายงานการประเมิน และ 5) การผลักดันสู่การตัดสินใจ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้าร่วมการประเมินผลโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ประสานงานเขต 4 (1 คน) ทีมพี่เลี้ยงพื้นที่ (2 คน) ผู้รับผิดชอบกองทุน (10 คน) และผู้เสนอโครงการ (8คน) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (informal interview) ซึ่งขอบเขตการประเมินผลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การประเมินกำลังคน ทรัพยากรและงบประมาณ ทุนทางสังคม และระบบข้อมูล ส่วนการประเมินผลเชิงกระบวนการ ได้แก่ การสร้างทีมและคณะทำงาน การพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง การพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุน และผู้เสนอโครงการโดยผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยง และการทำงานของทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงในการหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผล จากการประเมินผล พบว่า การดำเนินงานโครงการบูรณาการฯในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ มีการบันทึกแผนและโครงการตามประเด็นปัญหาในระบบออนไลน์ จำนวน 40 แผน และ 53 โครงการ เมื่อเดือนกันยายน 2563 อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขอทุนและคณะกรรมการกองทุนบางส่วน ยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงการบูรณาการฯ การเขียนโครงการยังขาดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการที่เป็นเชิงปริมาณ และแม้ว่าผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการยังเห็นผลไม่ชัดเจนมากนักภายใต้สถานการณ์วิกฤตจากการระบาดโควิด 19 แต่ศักยภาพของคนที่เป็นต้นทุนที่มีอยู่ ทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ การประสานความร่วมมือที่ดีภายในพื้นที่ รวมถึงกลไก ระบบ กระบวนการในการติดตามงานที่มีอยู่เดิม ถือเป็นปัจจัยเอื้อให้โครงการบูรณาการฯ สามารขับเคลื่อนในพื้นที่ได้ ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา คือ การเพิ่มศักยภาพของคนที่ทำงานกองทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้การเขียนและดำเนินโครงการที่ขอทุนกองทุนสุขภาพท้องถิ่นมีคุณภาพมากขึ้น เสนอให้จัดทำเวทีทบทวนโครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล โดยให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการ เพิ่ม. เสนอให้เพิ่มกระบวนการสร้างความเข้าใจในตัวโครงการบูรณาการตั้งแต่เริ่มต้น ชี้ให้เห็นประโยชน์ของโครงการอย่างชัดเจน และบทบาทความเกี่ยวข้องของบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ เสนอให้คณะพี่เลี้ยงทำการติดตามการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการทำงานร่วมกันปีละ 3 ครั้ง เสนอให้โครงการบูรณาการฯ มีการจัดทำวิดิโอการใช้งานระบบริหารกองทุนออนไลน์ เพื่อให้สามารถศึกษา/ทบทวนการใช้งานด้วยตัวเองได้สะดวกและเข้าใจได้ง่ายขึ้นเพราะเห็นภาพเสมือนจริงจากวิดิโอ เสนอให้โครงการตั้งคณะทำงานในระดับตำบลที่ประกอบด้วย สาธารณสุข ท้องถิ่น และภาคประชาชน เข้ามาร่วมพัฒนาแผน/โครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพระดับตำบล และเสนอให้โครงการจัดเวทีในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากคนที่เคยทำงานแล้วประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนให้กับผู้ที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน กระบวนการทำงาน นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคในชุมชน

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอบางใหญ่มีแผนสุขภาพจำแนกตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ 5 ประเด็นหลักเพิ่มขึ้น
  2. มีโครงการที่ดีได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบลนำร่องในอำเภอบางใหญ่เพิ่มขึ้น
  3. มีการติดตามประเมินผลกองทุนสุขภาพตำบลผ่านระบบออนไลน์
  4. พัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่ายสสส. สปสช. และสธ.
  5. ดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่ายสสส. สปสช.และสธ.และกองทุน ฯในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ฯ และบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การประชุมเชิงปฎิบัติการโครงการบูรณาการการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะในระดับพื้นที่
  2. ประชุมเชิงปฎิบัติการสร้างเสริมศักยภาพในการจัดทำแผนงาน/โครงการฯ จังหวัดนนทบุรี
  3. ประชุมติดตามความก้าวหน้าการบันทึก แผนงาน/โครงการ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ครั้งที่1
  4. ประชุมติดตามความก้าวหน้าการบันทึก แผนงาน/โครงการ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ครั้งที่2
  5. ประชุมติดตามความก้าวหน้าการบันทึก แผนงาน/โครงการ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ครั้งที่3

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี)
วัยเรียน (6-12 ปี)
วัยรุ่น (13-15 ปี)
เยาวชน (15-20 ปี)
วัยทำงาน
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ
ผู้หญิง
มุสลิม
พระภิกษุ
ชาติพันธุ์
ผู้ต้องขัง
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ)
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ)
แรงงานข้ามชาติ
อื่น ๆ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอบางใหญ่มีแผนสุขภาพจำแนกตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ 5 ประเด็นหลักเพิ่มขึ้น 2.มีโครงการที่ดีได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบลนำร่องในอำเภอบางใหญ่เพิ่มขึ้น 3.มีการติดตามประเมินผลกองทุนสุขภาพตำบลผ่านระบบออนไลน์ 4.พัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่ายสสส. สปสช. และสธ. 5.ดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่ายสสส. สปสช.และสธ.และกองทุน ฯในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ฯ และบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชุมเชิงปฎิบัติการโครงการบูรณาการการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะ และพัฒนากลไกสุขภาวะในระดับพื้นที่

วันที่ 12 มีนาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ความรู้ความเข้าใจต่อแนวทางการบูรณาการแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น แผนปฏิบัติ งานสาธารณสุขประจำปี กับทิศทางตามประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนระดับอำเภอ (ประเด็นจากกลไก พชอ.)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1)บูรณาการแผนกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น แผนปฏิบัติงานสาธารณสุขประจำปี กับทิศทางตามประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 2)การใช้งานเว็บไซด์กองทุนสุขภาพตำบล(https://localfund.happynetwork.org/  พัฒนาแผนงาน/  โครงการ  และเป็นพี่เลี้ยงภาคีเครือข่ายต่างๆในการจัดทำโครงการที่ขอสนับสนุนงบกองทุนหลักประกัน สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

 

82 0

2. ประชุมเชิงปฎิบัติการสร้างเสริมศักยภาพในการจัดทำแผนงาน/โครงการฯ จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 31 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ทบทวนการบันทึกการใช้โปรแกรมเพื่อพัฒนาแผนงาน/โครงการ -การติดตามประเมินผลโครงการภายใต้การสนับสนุนงบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ผ่านโปรแกรม เพื่อวางแผนการพัฒนาโครงการ ปีงบประมาณ 2564 (นำโครงการของกองทุนปี 2563ที่รวบรวมได้มาคีย์ลงในโปรแกรม เน้นจัดทำแผน และโครงการที่พัฒนา)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-การติดตามประเมินผลโครงการภายใต้การสนับสนุนงบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ผ่านโปรแกรม เพื่อวางแผนการพัฒนาโครงการ ปีงบประมาณ 2564 (นำโครงการของกองทุนปี 2563ที่รวบรวมได้มาคีย์ลงในโปรแกรม เน้นจัดทำแผน และโครงการที่พัฒนา)

 

30 0

3. ประชุมติดตามความก้าวหน้าการบันทึก แผนงาน/โครงการ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ครั้งที่1

วันที่ 17 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ทบทวนการบันทึกการใช้โปรแกรมเพื่อพัฒนาแผนงาน/โครงการ -การติดตามประเมินผลโครงการภายใต้การสนับสนุนงบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ผ่านโปรแกรม เพื่อวางแผนการพัฒนาโครงการ ปีงบประมาณ 2564 (นำโครงการของกองทุนปี 2563ที่รวบรวมได้มาคีย์ลงในโปรแกรม เน้นจัดทำแผน และโครงการที่พัฒนา)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-การติดตามประเมินผลโครงการภายใต้การสนับสนุนงบกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ผ่านโปรแกรม เพื่อวางแผนการพัฒนาโครงการ ปีงบประมาณ 2564 (ต่อ) (นำโครงการของกองทุนปี 2563ที่รวบรวมได้มาคีย์ลงในโปรแกรม เน้นจัดทำแผน และโครงการที่พัฒนา)

 

25 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 กองทุนสุขภาพตำบลอำเภอบางใหญ่มีแผนสุขภาพจำแนกตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ 5 ประเด็นหลักเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : ร้อยละของกองทุนสุขภาพตำบลอำเภอบางใหญ่ที่มีแผนสุขภาพจำแนกตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ 5 ประเด็นหลัก
50.00

 

2 มีโครงการที่ดีได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบลนำร่องในอำเภอบางใหญ่เพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการที่มีคุณภาพได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพตำบลนำร่องในอำเภอบางใหญ่
20.00

 

3 มีการติดตามประเมินผลกองทุนสุขภาพตำบลผ่านระบบออนไลน์
ตัวชี้วัด : ร้อยละของกองทุนตำบลมีการติดตามประเมินผลผ่านระบบออนไลน์
30.00

 

4 พัฒนากลไกการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่ายสสส. สปสช. และสธ.
ตัวชี้วัด : จำนวนกลไกที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ต่อการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ในการทำแผน พัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการโดยดำเนินการร่วมกันของเครือข่ายสสส. สปสช. และสธ.
8.00

 

5 ดำเนินการนำร่องพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยดำเนินการร่วมกับกลไกในพื้นที่ ที่มาจากเครือข่ายสสส. สปสช.และสธ.และกองทุน ฯในการพัฒนาศักยภาพของโครงการที่จะได้รับการสนับสนุนจากกองทุน ฯ และบูรณาการการทำงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
ตัวชี้วัด : จำนวนพื้นที่ต้นแบบการบูรณาการขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาวะในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่
8.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
ปฐมวัย (0-5 ปี) -
วัยเรียน (6-12 ปี) -
วัยรุ่น (13-15 ปี) -
เยาวชน (15-20 ปี) -
วัยทำงาน -
ผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
ผู้พิการ -
ผู้หญิง -
มุสลิม -
พระภิกษุ -
ชาติพันธุ์ -
ผู้ต้องขัง -
หลากหลายทางเพศ (LGBTIQ) -
กลุ่มด้อยโอกาส (คนไร้บ้าน, เด็กเร่ร่อน, เด็กกำพร้า, เด็กในสถานพินิจ ฯลฯ) -
แรงงานข้ามชาติ -
อื่น ๆ -

บทคัดย่อ*

การติดตาม สนับสนุน และประเมินผล เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินโครงการสามารถดำเนินไปสู่จุดหมายได้สำเร็จ โดยผู้ประเมินสามารถค้นหาปัจจัยส่งเสริม ปัญหาอุปสรรค รวมถึงวิเคราะห์และสรุปผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการได้ในทุกขั้นตอน การประเมินผลแบบเสริมพลังการทำงานร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการประเมินที่ช่วยลดความซ้ำซ้อนของการทำงาน และส่งเสริมให้งานบรรลุได้ตามวัตถุประสงค์และความคาดหวังของทุกฝ่ายได้ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการติดตามประเมินผลโครงการบูรณาการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาวะและพัฒนากลไกสุขภาวะระดับพื้นที่ ในอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการดำเนินงานและผลจากการดำเนินโครงการบูรณาการฯ 2) ศึกษาอุปสรรคปัญหาในการดำเนินโครงการบูรณาการฯ 3) ศึกษาปัจจัยโอกาสในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามเป้าหมาย และ 4) เสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ปัญหาและส่งเสริมปัจจัยความสำเร็จ คณะผู้วิจัยได้เลือกใช้กระบวนการประเมินผลตามกรอบแนวคิด Health Impact Assessment (HIA) ร่วมกับการประยุกต์ใช้กรอบการประเมินผล Ottawa Charter, System theory และ CIPP model โดยขั้นตอนของการดำเนินงานประกอบด้วย 1) การกลั่นกรองโดยสาธารณะ 2) การกำหนดขอบเขตการประเมินผลโดยสาธารณะ 3.) การประเมินผลกระทบ 4.) การทบทวนร่างรายงานการประเมิน และ 5) การผลักดันสู่การตัดสินใจ ซึ่งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เข้าร่วมการประเมินผลโครงการครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ประสานงานเขต 4 (1 คน) ทีมพี่เลี้ยงพื้นที่ (2 คน) ผู้รับผิดชอบกองทุน (10 คน) และผู้เสนอโครงการ (8คน) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (informal interview) ซึ่งขอบเขตการประเมินผลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การประเมินกำลังคน ทรัพยากรและงบประมาณ ทุนทางสังคม และระบบข้อมูล ส่วนการประเมินผลเชิงกระบวนการ ได้แก่ การสร้างทีมและคณะทำงาน การพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยง การพัฒนาศักยภาพกรรมการกองทุน ผู้รับผิดชอบกองทุน และผู้เสนอโครงการโดยผู้ประสานงานเขตและทีมพี่เลี้ยง และการทำงานของทีมประสานงานและทีมพี่เลี้ยงในการหนุนเสริมการจัดทำแผน การพัฒนาโครงการและติดตามประเมินผล จากการประเมินผล พบว่า การดำเนินงานโครงการบูรณาการฯในพื้นที่อำเภอบางใหญ่ มีการบันทึกแผนและโครงการตามประเด็นปัญหาในระบบออนไลน์ จำนวน 40 แผน และ 53 โครงการ เมื่อเดือนกันยายน 2563 อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขอทุนและคณะกรรมการกองทุนบางส่วน ยังมีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงการบูรณาการฯ การเขียนโครงการยังขาดตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการที่เป็นเชิงปริมาณ และแม้ว่าผลลัพธ์และผลกระทบของโครงการยังเห็นผลไม่ชัดเจนมากนักภายใต้สถานการณ์วิกฤตจากการระบาดโควิด 19 แต่ศักยภาพของคนที่เป็นต้นทุนที่มีอยู่ ทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ การประสานความร่วมมือที่ดีภายในพื้นที่ รวมถึงกลไก ระบบ กระบวนการในการติดตามงานที่มีอยู่เดิม ถือเป็นปัจจัยเอื้อให้โครงการบูรณาการฯ สามารขับเคลื่อนในพื้นที่ได้ ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา คือ การเพิ่มศักยภาพของคนที่ทำงานกองทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้การเขียนและดำเนินโครงการที่ขอทุนกองทุนสุขภาพท้องถิ่นมีคุณภาพมากขึ้น เสนอให้จัดทำเวทีทบทวนโครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล โดยให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการ เพิ่ม. เสนอให้เพิ่มกระบวนการสร้างความเข้าใจในตัวโครงการบูรณาการตั้งแต่เริ่มต้น ชี้ให้เห็นประโยชน์ของโครงการอย่างชัดเจน และบทบาทความเกี่ยวข้องของบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ เสนอให้คณะพี่เลี้ยงทำการติดตามการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการทำงานร่วมกันปีละ 3 ครั้ง เสนอให้โครงการบูรณาการฯ มีการจัดทำวิดิโอการใช้งานระบบริหารกองทุนออนไลน์ เพื่อให้สามารถศึกษา/ทบทวนการใช้งานด้วยตัวเองได้สะดวกและเข้าใจได้ง่ายขึ้นเพราะเห็นภาพเสมือนจริงจากวิดิโอ เสนอให้โครงการตั้งคณะทำงานในระดับตำบลที่ประกอบด้วย สาธารณสุข ท้องถิ่น และภาคประชาชน เข้ามาร่วมพัฒนาแผน/โครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพระดับตำบล และเสนอให้โครงการจัดเวทีในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากคนที่เคยทำงานแล้วประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนให้กับผู้ที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน กระบวนการทำงาน นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคในชุมชน

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

อภิปรายผล 1. จากผลที่พบว่าโครงการยังไม่ได้ขับเคลื่อน/บูรณการกลไกการพัฒนาในคณะกรรมการพชอ. เนื่องจากทีมทำงานของนนทบุรีให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในพื้นที่ก่อน เพื่อให้บุคลากรในพื้นที่มีความรู้ความสามารถที่จะเขียนโครงการที่มีคุณภาพ มีฐานข้อมูลที่จะสนับสนุนแผนของคณะกรรมการกองทุนในชุดต่อไป 2. ขั้นตอนการทำงานของโครงการบูรณาการฯ ไม่สามารถใช้ระบบบริหารกองทุนสุขภาพตำบลออนไลน์ในการพัฒนาโครงการในปี 2563 ได้ทัน จึงปรับแผนโดยการบันทึกข้อมูลโครงการที่ได้รับการอนุมัติแล้ว ซึ่งทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการมีมุมมองทั้งเป็นโอกาสการพัฒนาและเป็นข้อจำกัด (โอกาสในการฝึกซ้อมการสร้างแผนและโครงการ ให้มีทักษะและความชำนาญ เพื่อรองรับการพัฒนาแผน/โครงการในปี 2564) และข้อจำกัด คือ การไม่เห็นความสำคัญของการสร้างแผน/พัฒนาโครงการกับโครงการที่ดำเนินการไปแล้ว 3. กระบวนการดำเนินโครงการ ผลผลิต ผลลัพธ์ที่พบว่ายังไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากพบอุปสรรค ปัญหา ที่ไม่คาดคิด ทำให้โครงการในระดับพื้นที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อสถานการณ์ จึงต้องการกระบวนการวิเคราะห์สถานการณ์และการแก้ปัญหา จากผู้รับผิดชอบมาวางแผนการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 4. จากข้อค้นพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการส่วนหนึ่งไม่ทราบที่มาที่ไปของโครงการและโปรแกรมออนไลน์ ดังนั้นการสร้างความเข้าใจในประเด็นของความเป็นมาหรือกระบวนการในการสร้างระบบบริหารกองทุนทุนสุขภาพตำบลออนไลน์ วิธีการการดำเนินงาน และผลที่จะเกิดขึ้น จึงมีความหมายและความสำคัญกับผู้เข้าร่วมโครงการในทุกระดับ โดยหากทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีส่วนร่วมในขั้นตอนการพัฒนาเครื่องมือของโครงการในทุกๆ ขั้นตอน ก็จะทำให้เกิดความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น

ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนาโครงการบูรณาการฯ จากการเวทีการทบทวนร่างรายงาน 1. เสนอให้เพิ่มศักยภาพของคนที่ทำงานกองทุนเพิ่มขึ้น เพื่อให้การเขียนและดำเนินโครงการที่ขอทุนกองทุนสุขภาพท้องถิ่นมีคุณภาพมากขึ้น โดยการจัดอบรมให้เจ้าหน้าที่ที่เข้ามาทำงานใหม่ และการดึงคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการให้เข้ามามีส่วนร่วมรับรู้และใช้ระบบบริหารกองทุนออนไลน์เพิ่มเติม รวมทั้งการจัดอบรมเพิ่มความรู้การเขียนโครงการที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การหาขนาดของปัญหา การวิเคราะห์ปัญหา และที่มาของปัญหา ประกอบกับมีทีมที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญด้านการเขียนโครงการเข้ามาร่วมเป็นวิทยากร 2. ทำเวทีทบทวนแผนงานโครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล โดยให้ท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพในการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพการเขียนโครงการ 3. เสนอให้เพิ่มกระบวนการสร้างความเข้าใจในตัวโครงการบูรณาการตั้งแต่เริ่มต้น ชี้ให้เห็นประโยชน์ของโครงการอย่างชัดเจน และบทบาทความเกี่ยวข้องของบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ 4. เสนอให้คณะพี่เลี้ยงทำการติดตามการดำเนินงานกับผู้เกี่ยวข้องเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาและกระตุ้นการทำงานร่วมกันปีละ 3 ครั้ง
5. เสนอให้มีการจัดทำวิดิโอการใช้งานระบบริหารกองทุนออนไลน์ เพื่อให้สามารถศึกษา/ทบทวนการใช้งานด้วยตัวเองได้สะดวกและเข้าใจได้ง่ายขึ้นเพราะเห็นภาพเสมือนจริงจากวิดิโอ 6. เสนอให้โครงการตั้งคณะทำงานในระดับตำบลที่ประกอบด้วย สาธารณสุข ท้องถิ่น และภาคประชาชน เข้ามาร่วมพัฒนาแผน/โครงการที่ขอทุนจากกองทุนสุขภาพระดับตำบล
7. เสนอให้โครงการจัดเวทีในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากคนที่เคยทำงานแล้วประสบความสำเร็จมาแลกเปลี่ยนให้กับผู้ที่เข้ามาทำงานใหม่ๆ โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนวิธีการทำงาน กระบวนการทำงาน นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคในชุมชน

 

 


โครงการบูรณาการกลไกสุขภาพชุมชนเขต 4 อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี (ประเมินจริง) จังหวัด นนทบุรี

รหัสโครงการ xxx

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( อ.ประเสริฐ เล็กสรรเสริญ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด